สกู๊ตเตอร์ (จักรยานยนต์)

     

125

       สกู๊ตเตอร์ (Scooter หรือ Motor Scooter) คือ รถจักรยานยนต์ขนาดเบา มีล้อขนาดเล็ก เป็นยานพาหนะที่เป็นที่นิยมอย่างมากในยุคหลังสงครามโลก เนื่องจากมีราคาถูก และสวยงาม ในปัจจุบันก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังนิยมใช้อยู่

    ประวัติ 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริษัทวิศวกรรมทางการทหารมีการขยายตัวอย่างมาก และเมื่อสงครามสงบ จึงเกิดบริษัทวิศวกรรมหลายๆแห่งที่ไม่ต้องทำการผลิตเพื่อกองทัพอีกต่อไป ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงหันมามองตลาดยานพาหนะส่วนบุคคลแทน หลายๆ บริษัทได้หันมาพัฒนาประดิษฐ์กรรมที่ต่อมาเรียกขานกันว่า สกู๊ตเตอร์

สกู๊ตเตอร์ รุ่นแรกๆ นั้น ไม่มีการจำหน่ายในปริมาณมาก สาเหตุอาจเป็นเพราะไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการในการเดินทางของผู้คนภายหลังสงคราม และก็เพียงเพื่อต้องการให้มีความแตกต่างกับมอเตอร์ไซด์ในยุคนั้นเท่านั้น

สกู๊ตเตอร์ ในยุคแรกได้รับความนิยมพอสมควร แต่ก็ต้องปิดตัวเองไปในช่วงกลางทศวรรษ 1920 จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เริ่มทำการผลิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองทางการทหาร บริษัทผู้ผลิตในอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน และอเมริกา ได้ทำการผลิตสกู๊ตเตอร์แบบธรรมดาๆ เพื่อใช้ขนย้ายกองทหารพลร่มและทหารราบ ในอังกฤษมีการผลิตแบบ Welbike ซึ่งสามารถพับเก็บได้ ในอเมริกามีการผลิตแบบ Cushman ฝ่ายเยอรมันก็มี TWN ส่วนอิตาลีก็ทำการผลิตแบบ Volugrafo ซึ่งมีล้อหลังคู่

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ผู้คนเริ่มหันมาต้องการใช้ยานยนต์กันอีก บริษัทผู้ผลิตซึ่งต้องทำงานอย่างหนักในช่วงสงครามจึงมีศักยภาพพอที่จะทำการผลิตได้ ผลที่ตามมาก็คือเกิดการประดิษฐ์สกู๊ตเตอร์รุ่นที่สองขึ้น

ในอิตาลี บริษัท Piaggio ซึ่งเป็นบริษัทผู้สร้างเครื่องบินในสมัยนั้นถูกห้ามทำการผลิตในปี 1945 ดังนั้นทางบริษัทจึงหันมาผลิตสกู๊ตเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า เวสป้า – Vespa (Wasp) ออกมา

รถสกู๊ตเตอร์รุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของ เวสป้าที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ 1990

สกู๊ตเตอร์รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ Innoncenti แห่งมิลาน ได้ทำการเปิดตัวสินค้าด้วย Lambretta M (ต่อมาใช้ชื่อใหม่เป็น Model A) ออกมาในปี 1947 Lambretta ผลิตโดยใช้ตัวถังแบบเปิด(openframe)ทรงหลอด และไม่มีระบบป้องกันสภาพอากาศที่ดีนอกจากนั้นก็ไม่มีระบบกันกระเทือนอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องอาศัยยางในล้อช่วยลดการกระแทก หลังจากนั้นไม่นาน Lambretta จึงทำการผลิตรุ่น B ออกมาแทน จากจุดนี้เอง ทั้ง Lambretta และเวสป้า จึงได้ทำการแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในการตลาด อย่างไรก็ตาม Lambretta ยังยึดรูปแบบทรงหลอดอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบขับเคลื่อนด้วยเพลาไปใช้ระบบโซ่ หรือบางทีก็สลับกัน ส่วนทางด้าน เวสป้า นั้นก็ยังยึดระบบตัวถังแบบเหล็กชิ้นเดียวครอบตัวเครื่อง และติดตั้งระบบเกียร์ไว้ใกล้ๆกับล้อหลัง การแข่งขันของทั้งสองบริษัทนี้เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งในปัจจุบัน ผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ก็ยังแบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน

ต้นทศวรรษ 1950 ทั้ง เวสป้า และ Lambretta สามารถสร้างยอดจำหน่ายได้มากชนิดที่วงการรถสองล้อไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นผลให้ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ และยานยนต์ชนิดต่างๆ เกิดการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นผู้ผลิตบางรายจะเน้นที่รูปแบบและเครื่องยนต์ สำหรับบางรายยกเครื่องสกู๊ตเตอร์ใหม่หมด โดยการเปลี่ยนยานยนต์แบบประหยัด ให้กลายมาเป็นยานยนต์แบบเลิศหรูและก้าวไกล

อย่างไรก็ตามตลาดในขณะนั้นไม่สามารถรองรับความหลากหลายของสินค้าได้ทั้งหมด ทำให้สินค้าบางตัวมีอายุสั้นมาก แม้จะเป็นสินค้าชั้นยอดก็ตาม สินค้าชั้นดีหลายๆ ชนิดไม่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจเลย จุดตกต่ำของสกู๊ตเตอร์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อผูบริโภคหันหลังไปนิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กที่มีราคาถูก เช่นเฟียต 500 และรถมินิ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะป้องกันฝน และอากาศหนาวได้ดีกว่า ส่วนผู้ซื้อสกู๊ตเตอร์จะมีก็เพียงสมาชิกชมรมต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในทศวรรษ 1990 สกู๊ตเตอร์ของยุโรปยังมีหลงเหลือให้เห็นได้พอสมควร ทว่าในปัจจุบันผู้ผลิตของญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี กำลังทำการผลิตสกู๊ตเตอร์รุ่นที่สามออกมา โดยมีรูปทรงและภาพพจน์ที่สะดวกสบายต่อการขนส่ง มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเสริมสีสันที่โฉบเฉี่ยวเพื่อดึงดูดลูกค้าวัยรุ่นฐานะปานกลาง

แหล่งข้อมูลอื่น 

ประวัติรถ vespa

   ประวัติความเป็นมาของรถ vespa

vespa-lx150-9

เวสป้าเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่เมืองที่ถือเป็นบ้านเกิดของเวสป้าที่แท้จริงคือเมืองปอนเตเดราเมืองอุตสาหกรรมในแคว้นทัสกานี ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท พิอาจิโอในปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆที่ชื่อไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนรักรถเวสป้า นี่คือเป้าหมายที่ห้ามพลาด
เวสป้าไม่ใช่แค่มอไซค์สกู๊ตเตอร์ แต่เป็นไอดอลทางการออแบบยานพาหนะ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจของเวสป้า ไม่ได้เป็นแค่สัญลัษณ์ของประเทศอิตาลี แต่มันยังข้ามน้ำข้ามทะเล โอนสัญชาติชีวิตในเมืองไทยนานหลายสิบปี เราพบเห็นเวสป้าได้ตามตลาดนัดโปสเตอร์โฆษณายุคเก่า ในโรงรถของนักสะสมมอเตอร์ไซค์คลาสสิค ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยมานาน โรงงานพิอาจิโอไม่ต่างจากโรงงานอุสาหกรรมทั่วไป ที่เซอร์ไพรส์คือการอนุรักษ์เรื่องราวและขั้นตอนในการผลิตเวสป้าไว้เหมือนเดิม ขั้นตอนการประกอบเวสป้าหนึ่งคัน จะเริ่มจากโครงแผ่นเหล็กคุณภาพสูง นำมาขึ้นรูปเป็นทรงประกอบเข้าเป็นเฟรม พ่นสีตามลายที่กำหนด ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ เอกลัษณ์อย่างหนึ่งของเวสป้า คือวิธีการผลิตที่เน้นใช้มนุษย์ เช่น การพ่นสีตัวถัง ในขณะที่โรงงานมอเตอร์ไซค์แบรนด์อื่นใช้เครื่องยนต์ในการพ่นทั้งหมด เวสป้าใช้พนักงานพ่นสีทับ
3-4ชั้น ก่อนส่งไปประกอบต่อ อีกส่วนที่โดดเด่นของเวสป้าคือ การใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลังในตัวถังในขณะที่แบรนด์อื่นจะใช้พลาสติกมาประกอบเพื่อลดทุนแต่ผลิตได้มากขึ้น แต่เวสป้าไม่เชื่อวิธีนั้น

              Corradino D’ Ascanio นักออกแบบที่เชี่ยงชาญในด้านการวิศวกรรมการบินก็ได้เข้ามาร่วมงานด้วยเขาเป็นคนออกแบบภาพร่างเกี่ยวกับยานยนต์แบบใหม่เรียบง่าย ไม่สิ้นเปลือง และสะดวกสบาย สวยงามควบคู่กันไป เมื่อเขาออกแบบได้รับความสนใจทันที มันไม่ใช่ความเพ้อฝันของเขาอีกต่อไป และความฝันของเขา คือการปฎิวัติวงการยานยนต์แบบใหม่ เขาใช้เทคโนโลยีของเครื่องบินบวกกับโครงสร้างแบบชิ้นเดียว ลักษณะ เป็นง่ามเหมือนล้อลงดินของเครื่องบิน ซึ่งง่ายต่อการถอดล้อ เขาเรียกมันว่า MP6 และในที่สุดยานยนต์ต้นแบบที่ทุกคนรอคอยกัน ก็ได้ถือกำเนิดจากการผลิตใน เดือน กุมภาพันธ์ 1945 ซึ่ง  Enrico Piaggio ได้ให้ฉายาว่า “ Samba Una Vespa ” เพราะมันมีลักษณะคล้ายตัวต่อ เสียงเครื่องยนต์ก็ดังคล้ายตัวต่ออีกด้วย นี้คือที่มาของชื่อรถ vespa ที่เรารู้จักกัน 

 
     
 
 
ลักษณะของรถที่คล้ายตัวต่อ
 

ในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1945 รถเวสป้ารุ่น MP6 ก็ถูกผลิตออกมาด้วยองค์ประกอบหลายอย่างที่สะดวกสบาย มีล้ออะไหล่ซึ่งขับขี่แบบง่ายๆถ้าในเวลาขับขี่รถติดก็มีที่กำบังกันน้ำ กระเด็นใส่ Enrico ได้ฟังเสียงรถ MP6 เขาร้องออกมาว่า”มันเหมือนตัวต่อ ร้องเลย” ตั้งแต่นั้นมา Enrico ก็เลยให้ชื่อเสียงเรียงนามเรียกรถนี้ว่า Vespa ซึ่งแปลว่าตัวต่อ (Wasp)รุ่นแรกมี scooterขนาดเล็กที่ใช้โครงสร้างตัวถังแบบชั้นเดียวแทน หลังจากผลิตรถรุ่นดังกล่าวได้ประมาณ 100 คัน จากนั้นจึงลงมือผลิตรุ่นที่ใช้ชื่อว่า Vespa (Wasp) ออกมารถรุ่นนี้มีความก้าวหน้ามากทั้งในด้านรูปทรงและ ด้านวิศวกรรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบของVespa ที่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดจนถึงกลางทศวรรษ1990 scooter รุ่นแรกที่มีขนาดเครื่องยนต์เพียง 98cc.ต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีขนาด 125cc. 150cc.และ 200cc. ตามลำดับ

สำหรับคนที่เล่นพวกรถคลาสสิคพวกนี้น่าจะมีกำลังทรัพย์มากพอสมควรนะ เพราะไหนจะค่าอะไหล่รถ ซึ่งบางอย่างก็หายาก ค่าแต่งรถ หรือบางทีอาจโดนใบสั่งจากตำรวจอีกเพราะเวสป้าบางคันมันก็ไม่มีทะเบียน
ในประเทศไทย Piaggio Group มีตัวแทนจำหน่ายรถเวสป้า ดำเนินธุรกิจโดย บริษัทไทยเจริญอะไหล่ยนต์ จำกัด

 รุ่น VBB Standard 150

 รุ่น  VLC Super 150
อ้างอิง http://ruttanun.blogspot.com/2013/02/vespa.html

ม็อด (วิถีชีวิต)

ม็อด (วิถีชีวิต)

Mods-in-Hastings

ม็อด (Mod) มาจากคำว่า Modernism (สมัยใหม่นิยม) เป็นวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในยุค 50

ม็อด เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มหนึ่ง (วัฒนธรรมย่อย หรือ Subculture) ที่มีฐานะเป็นชนชั้นกลาง ประกอบด้วยคนหนุ่มสาวเป็นหลัก ทั้งคนทำงานระดับมันสมองและระดับปฏิบัติงาน รูปแบบชีวิตในสังคมก็จะเป็นลักษณะคนเมืองที่ใช้ชีวิตกลางคืน โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่นิยมแฟชั่นและดนตรีมาก

แรกเริ่มเดิมที ม็อด ถูกใช้เรียกกลุ่มแฟนเพลงโมเดิร์นแจ๊ส ต่อมาคนกลุ่มนี้ก็เริ่มที่จะแต่งตัวและมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ในราวปี ค.ศ. 1960 วิถีการดำเนินชีวิตแบบหนุ่มสาวผู้มั่งคั่งได้เกิดขึ้นในอังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับยุคเริ่มต้นของการปฏิวัติทางเศรษฐกิจและสังคมในตอนแรก ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่มั่นคงและมีงานให้เลือกทำมากมาย ทำให้คนรุ่นหนุ่มสาว มีรายได้มากพอ จนต่อมาได้เกิดคนยุคใหม่ที่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสื่อหลายสาขาที่คนเหล่านั้นเข้าไปทำงาน

แฟชั้นที่ ม็อด นิยมใส่ก็เช่นพวกสูท โดยจะเป็นเสื้อสูทคล้ายแจ็คเก็ตที่มักทำด้วยขนกระต่าย ซึ่งโดยรวมแล้วลักษณะการแต่งกายจะไปในแนวแฟชั่นสมัยใหม่แบบอิตาลี

สำหรับการแต่งตัวแบบสบาย ๆ แล้ว กลุ่มม็อด จะสวมกางเกงขาตรงเกือบรัดรูป เสื้อโปโล เช่นของ Fred Perry และ Ben Sherman ไว้ทรงผมสไตล์ฝรั่งเศส ส่วนสาวๆ จะใส่เสื้อคลุมหนังสีดำแบบสปอร์ต กระโปรงสั้นรัดรูป หรือ กางเกงรัดรูป และ รองเท้าบู๊ต นอกจากนี้แล้ว เสื้อโค้ดยี่ห้อ Parkas ที่พวกเขาชอบใส่ขี่เล่น Scooter ก็ยังเป็นที่รู้จักกันมาก (เสื้อคลุมตัวใหญ่พร้อมหมวก) ซึ่งเสื้อโค้ดตัวหนักนี้นอกจากเป็นเครื่องบ่งบอกความเป็นชาวม็อด ของพวกเขาแล้ว ยังช่วยป้องกันความหนาวเย็นขณะขี่สกูตเตอร์

การแต่งหน้าของสาว ๆ ม็อดจะเน้นที่ดวงตา โดยเขียนขอบตาและปัดขนตาสีดำ ทรงผมเป็นมันวาวและทำให้ดูพองๆ หนาๆ โดยการยีผมและประโคมเจลแต่งผมเพื่อให้ผมอยู่ทรง บุคลิกสาวๆ จะดูคล่องแคล่วและดูเหมือนผู้ชาย[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับแฟชั่นของผู้หญิงในยุคนั้น ต่อมาชาวม็อด ก็นิยมใส่เสื้อผ้าที่มีชีวิตชีวาและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

ม็อดนิยมที่จะใช้สกูตเตอร์ เป็นยานพาหนะ โดยเฉพาะที่ผลิตจากอิตาลี่ ยี่ห้อ เวสป้า หรือ Lambretta ซึ่งออกแบบให้เหมาะสมกับการขับขี่ในเมือง ด้วยแบบรถที่ดูเรียบๆ แต่มีสีสันเป็นประกาย และท่านั่งขับขี่ที่ตัวตั้งตรง เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ชาว Mod เห็นว่าเข้ากันได้กับสไตล์ของพวกเขา พวกเขาจะตกแต่ง Scooter ด้วยกระจกและไฟจำนวนมาก โดยส่วนมากไม่ได้ใช้ไฟและกระจกเหล่านั้น

การที่ม็อดเลือกสกูตเตอร์ เป็นยานพาหนะเหตุผลส่วนนึงก็มาจากที่การเดินทางโดยสาธารณะไม่สะดวกนัก และราคาของสกูตเตอร์ ก็ถูกกว่ารถยนต์ และเหตุผลที่พวกเขาประดับประดารถด้วยกระจกและไฟจำนวนมากก็มีสาเหตุมาจากการประชดกฎหมายอังกฤษ ที่ออกฎหมายใหม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องมีกระจกอย่างน้อย 1 อัน

ดนตรีที่ชาวม็อดนิยมจะเป็นแนว โมเดิร์นแจ๊ส และ อาร์แอนด์บี หลังจากนั้นเมื่อกลุ่มชาว Mod ขยายใหญ่ขึ้น ก็มีการขยับขยายแนวเพลงไปเป็นเพลง โซล (แนวดนตรี), สกา, และ Bluebeat ด้วย ทำให้เกิดวงดนตรีดังๆหลายต่อหลายวงที่กลายมาเป็นวงระดับตำนาน อาทิเช่น The Who, The Kinks, The Small Faces และ The Jam

Mod ชื่นชอบในศิลปะสมัยใหม่ และมีสถานที่ที่ใช้รวมตัวกันบ่อยๆ เป็นพวกไนท์คลับ ยกตัวอย่างเช่น The Scene หรือ The Flamingo ในลอนดอน หรือจะเป็น Twisted Wheel Club ใน Manchester เพื่อที่จะโชว์เอกลักษณ์ที่กล่าวมา

การเสพยาเป็นเรื่องปกติของชาวม็อด โดยเฉพาะแอมเฟตามีน ยาเหล่านี้เข้ากันได้กับวิถีชีวิตของพวกเขา โดยทำให้พวกเขาทำอะไรๆ ได้นานขึ้น[ต้องการอ้างอิง] เช่น เต้นรำ สังสรรค์ หรือ ขี่ Scooter ยา Purple Hearts หรือ Blues ทำให้หนุ่มสาวชาวม็อด ทำงานได้ทั้งวันและยังมีแรงพอที่จะออกไปสนุกสนานยามค่ำคืนจนเกือบรุ่งเช้า ส่วนวันรุ่งขึ้นพวกเขาก็จะใช้เวลางานในที่ทำงานสำหรับการพักฟื้น ชาวม็อดถูกมองว่าชอบทำสิ่งที่คนรุ่นก่อนไม่เคยได้ทำหรือสัมผัส[ต้องการอ้างอิง] สำหรับคนบางกลุ่มแล้วพฤติกรรมนี้ดูเหมือนขาดความรับผิดชอบ สุดโต่ง และ คุกคาม

การกระทบกระทั่งกันระหว่างสองกลุ่มนี้เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อชาว Rockers ขี่จักรยานยนต์เข้ามาในเมือง ดังเช่นเหตุการณ์ที่ยังเป็นที่จดจำที่เกิดขึ้นในเมือง Brighton ในปี ค.ศ. 1994 ในเหตุการณ์นั้นตำรวจได้เข้าจับกุมผู้ก่อเหตุ ในขณะที่สื่อต่างๆ ได้โหมประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวาง สร้างความสลดใจให้แก่ผู้คนที่ได้อ่านหัวข้อข่าวและรูปภาพเหตุการณ์ในหนังสือพิมพ์ ถึงแม้ว่าผู้คนในสังคมจะวิตกเรื่องที่หนุ่มสาวออกนอกลู่นอกทางอยู่นอกเหนือ การควบคุม แต่เบื้องหลังหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ ก็ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าความเสียหายจากอาชญากรรม และการจู่โจมที่ไม่รุนแรงมากนัก

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%94_%28%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%29

VESPA’S HISTORY IN THAILAND

since1964_thai_08

เวสป้าได้รับความนิยมในเมืองไทยมากว่า 50 ปี โดยถือเป็นความแปลกใหม่ของวงการรถในไทย โดยเวสป้าถือว่าแตกต่างกับรถมอเตอร์ไซด์ หรือรถ ประเภทอื่นๆ เพราะมีทั้งกลุ่มผู้ใช้ที่ใช้ในการทำงานจริงๆ ดังที่เรายังสามารถเห็นกันอยู่ คือการนำไปขนของเพื่อขนส่งแบบคล่องตัว เห็นได้ถึงความทนทานแข็งแกร่งของตัวรถและสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมของเวสป้า ในขณะที่มีอีกกลุ่มที่เวสป้าเป็นมากกว่าแค่ยานพาหนะแต่ กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นตัวตน การตกแต่งเวสป้าคลาสสิคให้เป็นเอกลักษณ์ การมีกลุ่มเวสป้าต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสไตล์ที่แตกต่าง ทำให้เวสป้ากลายเป็น ไอคอนของความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่ซ้ำใครตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม กระแสเวสป้าในเมืองไทยได้หายไปช่วงระยะหนึ่ง เนื่องจากการไม่มีตัวแทนการนำเข้าอย่างจริงจัง และไม่มีการ ทำการตลาดหรือการเชื่อมโยงชาวเวสป้าเข้าด้วยกัน จนกระทั่งปี 2009 บริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นและได้รับ สิทธิ์การเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยได้เริ่มนำเวสป้ากลับเข้ามาอีกครั้ง ทั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีในเมือง ไทย และมีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ รวมถึงได้มีการออกรุ่น Limited Edition ที่ทำขึ้นพิเศษ เช่น รุ่น 65 ปี ที่ทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 65 ปีของเวสป้าทั่วโลก รวมถึงได้ทำกิจกรรมรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยให้แก่เด็กและเยาวชนมา อย่างต่อเนื่องด้วย ทั้งนี้ ทางบริษัท เวสปิอาริโอ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายตัวแทนจำหน่ายเพื่อครอบคลุมทุกพื้นที่ ในประเทศไทย เพื่อนำสกู๊ตเตอร์ที่เป็นตัวแทนของดีไซน์และความคลาสสิค รวมถึงการบ่งบอกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปถึงคนไทยทุกคน 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://vespa.co.th/

Battle of Brighton (Mods VS Rockers)

(Mods and Rockers)

10923538_830111777049462_3122482002575060652_n
ในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1964…ชายหาด เมือง Brighton ประเทศอังกฤษ ในขณะที่ คลื่นวิทยุท้องถิ่นเปิด บทเพลงของ เอลวิส และ เดอะบิทเทิล ดังก้องไปทั่วชาดหาด ผู้คนกำลังดื่มดำกับบรรยากาศอย่างมีความสุข… .
เสียงเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ลอยผ่าน ใกล้เข้ามาๆ เหมือนเป็นลาง บอกเหตุร้ายบางอย่าง..

Mods และ Rocker เป็นคู่ปรับกันมาตลลอด และมีเหตุปะทะ กันหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี 1960
และในช่วงวันหยุด เดือน พค. ปี 1964นี้เอง ที่ส่อแวว ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ชายหาดที่แสนงาม ถูกแกงค์มอเตอร์ไซด์ จำนวน มากกว่า 3000คัน เข้าคุมพื้นที ตำรวจBrighton เตรียมกำลังพร้อมกับปัญหาที่กำลังจะตามมา
ร็อกเกอร์ มาถึงพร้อมรถมอเตอร์ไซด์แฮนด์ต่ำ พวกเขาเริ่มท้าทายกัน กับกลุ่ม วัยรุ่นเสื้อสูท บนรถสกูตเตอร์

Rocker จำนวนมากกว่าในช่วงปีแรกๆ แต่Mods ก็เพิ่มจำนวนได้ไม่แพ้กัน..เมื่อคนพร้อม รถพร้อม สถานที่พร้อม เวลาแห่งการชำระแค้นก็เริ่มขึ้น
ช่วงแรกที่ชายหาด Mods มีจำนวนไม่มาก กลุ่มใหญ่ที่มากกว่าของ Rocker อยู่ตรงกลาง
แต่ภายใน 90 นาที ทั้งชายหาดเต็มไปด้วย mods จำนวนหลายร้อย
มีใครสักคนหนึ่งในกลุ่มMods ปาก้อนหินใส่พวกเขา พวกเขากลุ่มแตก และใครคนนึงเลือดไหลอาบหน้า เป็นสัญญาณว่า ศึกเกิดขึ้นแล้ว การตะลุมบอลเกิดขึ้น พวกเขา ใช้เก้าอี้ชายหาดฟาดใส่กันอย่างบ้าคลุั่ง ก้อนหิน ปลิวว่อน กระจกร้านค้า แตก ได้รับความเสียหาย ผู้คนที่มาอาบแดด วิ่งหนี กันจ้าละหวัน
ตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ แต่เหตุการณ์ บานปลายถึงเช้าของอีกวัน
หลายคนถูกจับ หลายคนบาดเจ็บ มีบางสำหนักข่าว พาดหัวข่าว การตายในทะเล นับเป็นช่วงเวลา ที่บ้าคลั่งมากที่สุด ของทั้ง 2 กลุ่ม

ในปี 1979 เรื่องราวของพวกเขา ถูกเล่าผ่านหนังเรื่อง Quadrophenia,
หลายคนยังจำเหตุการณ์วันนั้นได้เป็นอย่างดี ความรุ่นแรงมีแต่ความเสียหาย เหลือเพียงแค่เรื่องเล่าวัยหนุ่ม ที่ไม่ควรเอาอย่าง เวลาเปลี่ยน ตัวละครถูกเปลี่ยนตาม วัยรุ่น รุ่นใหม่ๆ เกิดขึ้นมาในถนนนี้อีกหลายครั้ง
หลายปีต่อมา skinhead ได้ถือกำเนิดขึ้น และอีกไม่กี่ปี Punk ก็ตามมา พวกเขาคือ ผลผลิตจากคนรุ่นก่อนๆ ก็อาจจะเป็นได้

ในบ้านเรา ก็มีเรื่องราวคล้ายๆกันนี้ แถมเกิดในยุคเดียวกันด้วย เรื่องราวของกลุ่ม วัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่า “นักเลง” เปิดศึกครั้งใหญ่ กลางพระนคร (ศึก13ห้าง บางลำภู) เดือดร้อนกันทั่ว จนรัฐต้องมีการปราบปรามกันครั้งใหญ่ ….ก็เหมือนทุกครั้งๆ เวลาเปลี่ยน ตัวละครถูกเปลี่ยนตาม ตัวเก่าตายไป ตัวใหม่ก็เกิดขึ้นมา ไม่มีใครอยู่ได้ตลอดไป…

เรื่องเล่านี้เพื่อความบันเทิงนะครับ ..โปรดใช้ จักรยาน ในการรับชม..อิอิ
1898239_830111607049479_740268096138315141_n